ทำใจล้าเกิน

คุณเคยเป็นมั๊ย? การที่แคร์กับเรื่องอะไรมากๆ ซักเรื่องหนึ่งแล้วอยู่ๆ ก็ต้องหยุดไปดื้อๆ เพราะเริ่มรับมันไม่ไหว…

คุณคงอาจจะเคยมีประสบการณ์เหล่านี้มาก่อน ไม่ว่าจเป็นการที่เพื่อน มาปรึกาาเรื่องแฟน ยาวเป็นจนถึงตัวเลขผุ้ติดเชื้อโควิด ช่วงที่ระบาดหนักๆ ที่เคยผ่านมา ปละอาจจะรวมถึงการที่ได้ดูแลคนชราในบ้าน ซึ่งอาการเหล่านี้นั้น อาจจะมีลักษณะคล้ายๆ อาการหมดไฟ แต่สิ่งเหล่านี้ จริงๆ แล้วเรียกว่า
‘Compassion fatigue’ หรือความเหนื่อยล้า จากการเห็นอกเห็นใจ

โดยส่วนใหญ่อาการเหล่านี้ มักจะพบได้มาก ในหมู่คนที่ทำอาชีพ ที่ต้องได้อยู่ได้พบเจอกับความเจ็บปวดบ่อยๆ ของคนรอบข้าง อย่างเช่น นักจิตวิทยา พยาบาล คนดูแลคนพิการและคนชรา แต่ในปัจจุบัน เราไม่ต้องไปประกอบอาชีพนั้นๆ เราก็สามารถเป็น Compassion fatigue ได้ เพราะในปัจจุบัน เราสามารถพบเจอกับความเจ็บปวดได้ ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตลอดเวลา

ทำใจล้าเกิน
แม้ไม่ใกล้กัน แต่โซเชียลมีเดียทำให้รู้สึก

ทุกวันนี้เราเศร้าเรื่องอะไรบ้าง? นอกจากความเครียดในสถานการณ์บ้านเมืองแล้ว เราอาจเห็นอกเห็นใจความสูญเสียของสงครามที่ยุโรป อาจจะความลำบากของประชาชนประเทศเพื่อนบ้านจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศของเขา เรารู้สึกกับเรื่องที่ไกลเราขนาดนั้นได้เลยเหรอ? หากเป็นเมื่อก่อนอาจจะไม่

แต่เมื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้ทุกคนใกล้กันกว่าที่เป็น ความรู้สึกเหล่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ มากพอที่เราจะเอาสุขภาพใจของเราเข้าแลก หนึ่งในความดึงดูดของโซเชียลมีเดีย คือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งนอกจากเพื่อนฝูงแล้ว ความสัมพันธ์มนุษย์ยังเกิดขึ้น กับคนแปลกหน้าได้ด้วย ตัวอย่างเช่น

เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างในโลก สัญชาตญาณความเป็นมนุษย์ออนไลน์ ของเราจะทำให้เราเข้าไปยัง #Whatshappenningin… ทันที อาจเพื่อติดตามข่าวสาร แต่หลายครั้งมากเพื่อสอดส่องหาความรู้สึกร่วม และความรู้สึกนั้นอาจเสพติดได้ ในงานวิจัย A Research On Social Media Addiction and Dopamine Driven Feedback

โดยมหาวิทยาลัย Mehmet Akif Ersoy University ประเทศตุรกี ค้นพบว่าความเสพติดของโซเชียลมีเดียนั้นคล้ายคลึงกับการใช้ยาเสพติด นั่นคือความเสพติดใน Dopamine Loop ที่การโพสต์ การคอมเมนต์ การแชร์ ฯลฯ สร้างขึ้น กล่าวคือความเชื่อมต่อที่เกิดขึ้น จากการรับรู้และรู้สึกในโลกออนไลน์หลายๆ ครั้งทำให้ความสัมพันธ์ในโลกจริงจืดชืดไปเลยก็ได้

ความเห็นอกเห็นใจไม่ใช่เส้นตรง

แต่ถ้าเราแคร์ก็แปลว่าเราแคร์ไม่ใช่เหรอ? การแคร์มากๆ จะเปลี่ยนเป็นไม่แคร์ดูไม่เมคเซนส์เลยว่าไหม? ความเป็นจริงแล้วความเห็นอกเห็นใจอาจซับซ้อนกว่านั้น Compassion fatigue มักเกิดขึ้นได้ จากการเปิดรับความเจ็บปวดของผู้อื่นเข้ามาในตัว นี่เป็นเหตุผลให้ภาวะนี้มักเกิดขึ้น กับคนประกอบอาชีพ ที่เจอกับความเจ็บปวดในรูปแบบต่างๆ ของคนจำนวนมาก

โดยดร. ชาร์ลส ฟิงก์เลย์ (Charls Fingley) ผู้ก่อตั้ง ศูนย์วิทยาการการบาดเจ็บ มหาวิทยาลัยทูเลน กล่าวว่ามันเป็น ‘ภัยของทุกอาชีพที่ต้องใช้ความรู้สึกและหัวใจ’ ส่วนดร. ไฮดิ อัลเลแพค (Heidi Allespach) จากมหาวิทยาลัย Miami’s Miller School of Medicine กล่าวว่าเธอมักสอนให้นักศึกษาของเธอให้สร้างกำแพงรอบๆ ใจของพวกเขา

‘ถ้าไร้โล่กำบังที่แข็งแกร่งพอ ทุกอย่างจะถาโถมเข้ามาได้’ เธออธิบาย กล่าวคือความเห็นอกเห็นใจนั้นมีขอบเขต ที่มนุษย์คนหนึ่งสามารถรับเอาไว้ไหว และขอบเขตเหล่านี้สามารถถูกพังทลายลงได้ หากเราเห็นใจใครสักคน แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือการต่อว่าด่าทอ หรือความคิดอยากฆ่าตัวตาย แม้จะเป็นคนที่มีความเข้าใจขนาดไหนว่านั่น

คือผลข้างเคียงของอาการ และสภาพในจิตใจของพวกเขา และเราไม่โทษเขาแม้แต่น้อย ในใจของเราเองเกราะป้องกันย่อมเกิดขึ้น และนั่นรวมไปถึงเวลาที่เราอินกับปัญหาใดๆ สักอย่างในโลกอย่างมากๆ เรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน แต่สุดท้ายรู้ว่าสิ่งที่ทำได้คือโพสต์เกี่ยวกับมันเฉยๆ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร

เมื่อเราตื่นรู้ในทุกๆ ปัญหา ไม่ว่าจะการเมืองภายในและนอกประเทศ ปัญหาช่องว่างระหว่างชนชั้น สงคราม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และรู้ว่าถึงที่สุด อำนาจในการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ในมือของเรา? อาการของภาวะนี้คือการหลงลืม นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน อาจรู้สึกกับบางอย่างมากกว่าปกติ

และกับบางอย่างน้อยกว่าปกติ มองโลกลบและมองว่ามันอันตรายกว่าปกติ ตัดขาดทางความรู้สึกและตัดขาดการสื่อสารกับผู้คน หยุดเห็นอกเห็นใจ หากเป็นหนึ่งในอาชีพที่กล่าวมาก็อาจไม่มีใจที่จะทำงานเหล่านั้นต่อ และความรู้สึกสิ้นหวังกับความรู้สึกที่ไม่อาจยื่นมือเข้าไปแก้ไขอะไรต่อความสิ้นหวังเหล่านั้นได้

ที่กล่าวมาแปลว่าความเห็นอกเห็นใจไม่ใช่เส้นตรงที่จะบอกได้ว่าแค่เห็นใจก็คือเห็นใจ แต่มันมีขอบเขตที่หากไปถึง ความเห็นใจและความสามารถที่จะรู้สึกของคนคนหนึ่งสามารถหดหายไปได้ด้วย

แล้วเราจะกลับมาเห็นใจได้หรือเปล่า?

ปัจจัยที่ใหญ่มากๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะ compassion fatigue คือการให้ความสำคัญอย่างอื่นมากกว่าตัวเอง ซึ่งพบในทั้งคนที่ต้องดูแลคนอื่น และคนที่ติดตามเรื่องราวทางสังคมตลอดเวลา แต่เช่นเดียวกันกับที่คู่มือความปลอดภัยบนเครื่องบินบอก ‘โปรดสวมหน้ากากออกซิเจนให้ตัวเองก่อน แล้วจึงสวมให้ผู้ที่อยู่ใต้ความดูแลของท่าน’

การเห็นใจตัวเองก่อนนั้น อาจเป็นทางออกและการป้องกันความล้าใจที่อาจเกิดขึ้นได้ ในงานวิจัยหาความเชื่อมโยงระหว่าง compassion fatigue และความเห็นอกเห็นใจตัวเองโดยแคทเธอรีน อัปตัน (Katherine Upton) ตีพิมพ์ลงบนวารสาร Journal of Compassionate Health Care พบว่าความเห็นอกเห็นใจตัวเองนั้น

มีผลปานกลางต่อการป้องกันและคาดเดาการเกิด Compassion fatigue โดยความเห็นอกเห็นใจตัวเองในที่นี้คือการดูแลตัวเองผ่านสามปัจจัยที่ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากพุทธศาสนา นั่นคือความใจดีต่อตัวเอง (Self-kindness) ที่เริ่มจากการปลอบใจและดูแลตัวเอง ความเป็นปุถุชน (Common Humanity) ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นคนธรรมดา

และไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และสุดท้ายคือความมีสติ (Mindfulness) ที่ยึดเราไว้เข้ากับปัจจุบัน โดยผู้วิจัยแนะนำว่าควรปลูกฝังไว้แก่ผู้คนก่อน จะต้องเสี่ยงกับสถานการณ์ที่กระทบจิตใจ หากวาดภาพให้ชัดเจนขึ้น ทั้งสามอย่างสามารถเป็นตัวช่วยให้ใจเย็นและไม่โทษตัวเองในสิ่งที่อยู่นอกเหนือความสามารถของเราได้

อย่างเช่นหากเรา เห็นนักกิจกรรมถูกคุมขังบนโซเชียลมีเดีย แทนที่ความคิดของเราจะเป็นการโทษตัวเองก่อนว่าทำไมเราทำอะไรไม่ได้ กลายเป็นการนำข้อมูลเหล่านั้นเป็นแรง และเป็นมุมมองให้สามารถเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไปในอนาคตได้โดยไม่ล้มลงไปเสียก่อน แม้เราจะรู้ถึงหลักการแล้ว การดูแลจิตใจของตัวเอ

งในโลกที่เต็มไปด้วยเรื่องราวลบๆ นั้นอาจพูดง่ายกว่าทำ การฮีลจิตใจเมื่อความล้าแบบนี้เกิดขึ้นนั้นอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือปีๆ แต่หากแปลว่ามันสามารถทำให้คนที่มีความใส่ใจขับเคลื่อน เพื่อเปลี่ยนแปลงโลก และระบบเดินต่อไปได้นานขึ้น การพักและรู้ทันความล้าในใจนั้นสำคัญมากทีเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก : thematter.co
อ่านต่อได้ที่ : mikebarbour.com