ยอดโควิดพุ่ง วันละ 2 หมื่นคน ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 เท่า “หมอนิธิพัฒน์” เตือนการ์ดอย่าตก

ยอดโควิดพุ่ง “หมอนิธิพัฒน์” เตือนการ์ดอย่าตก คาดคนติดโควิด- 19 พุ่งวันละ 2 หมื่นคน ขณะที่ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 เท่า ขณะที่กลุ่มเปราะบางยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เสียชีวิตเพิ่มขึ้น แนะหลีกเลี่ยงอยู่ในพื้นที่ชุมชนลดเสี่ยงติดโควิด

นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สถานการณ์โควิด 19 กลับมาระบาด ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เดิมคาดการณ์ว่า ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง แต่ช่วงกลางเดือน พ.ค.ที่ผ่านมามีการเลือกตั้ง คนกลับภูมิลำเนา รวมทั้งการเดินทางเข้าออกประเทศ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจัยหลักที่ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น เพราะคนทำกิจกรรมนอกบ้านโดยไม่ระมัดระวังมากขึ้น

ส่วนปัจจัยรองอาจจะมาจากสายพันธุ์ย่อยที่มาจากตระกูลของโอไมครอน XBB ซึ่งแพร่กระจายติดเชื้อในช่วงที่ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและจากวัคซีนของคนไทยเริ่มตกลง เราก็ไม่อยากให้เกิดสภาพที่มีความโกลาหล ผู้ป่วยต้องการเข้าโรงพยาบาลลำบากเป็นดราม่าบนท้องถนน น่าจะหลีกเลี่ยงสภาวะแบบนั้น ทุกคนทุกฝ่ายต้องระมัดระวัง

ยอดโควิดพุ่ง ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 20 เท่า

หากเปรียบเทียบสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วงปลายเดือน มี.ค.กับต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา จากเดิมมีผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารักษาอาการที่โรงพยาบาลวันละ 20 คน แต่ขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารักษาที่โรงพยาบาลวันละ 400 คน เพิ่มขึ้น 20 เท่า

จากการคาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุก 100 คน จะมีคนเข้ารักษาอาการที่โรงพยาบาลประมาณร้อยละ 2 จากตัวเลขนี้จึงคาดการณ์ว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อวันละ 20,000 – 40,000 คน จากเดิมวันละประมาณ 2,000 คน ปลายเดือน มี.ค.เข้าโรงพยาบาลวันละประมาณ 20 คน ตอนนี้น่าจะติดเชื้อโควิด-19 ประมาณ 20,000 – 40,000 คน เข้าโรงพยาบาลวันละ 400 คน

เฝ้าระวังผู้ติดเชื้อกลุ่มเปราะบาง

นพ.นิธิพัฒน์ ระบุว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา พบมีผู้เสียชีวิตจำนวน 66 คนต่อสัปดาห์ จากเดิมคือ 3-4 คนต่อสัปดาห์ ตัวเลขนี้พบว่าผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 20 เท่าเช่นเดียวกับจำนวนผู้ติดเชื้อ

พบผู้ป่วยอาการปอดอักเสบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประมาณร้อยละ 5 และในผู้ที่มีอาการปอดอักเสบจำนวนครึ่งหนึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยในจำนวนคนที่ใช้เครื่องช่วยหายใจครึ่งหนึ่งเสียชีวิต ยังพบว่า ผู้เสียชีวิตที่พบครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่ติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง เป็นกลุ่มคนเปราะบางและติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้เสียชีวิตจากปอดอักเสบแต่เสียชีวิตจากโรคเดิมของผู้ป่วยที่กำเริบรุนแรงขึ้นหลังติดเชื้อโควิด-19 เช่น ไตวาย หัวใจวายกำเริบ ถุงลมโป่งพองกำเริบ

ประมาณครึ่งหนึ่งเสียชีวิตโดยตรงจากโควิด อีกครึ่งหนึ่งเสียชีวิตจากโรคเดิมที่กำเริบขึ้น ตัวเลขที่เรารายงานผู้เสียชีวิต ยังยึดตัวเลขผู้เสียชีวิตโดยตรงจากโควิดเป็นหลัก แต่บางรายก็อาจจะตอบไม่ได้ ตัวเลขพวกนี้จะเห็นมากกว่าเดิม 20 เท่า ทั้งจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ปอดอักเสบเกิดขึ้น ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมาประมาณ 10-20 เท่า

เตือน ปชช.หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม

นพ.นิธิพัฒน์ เตือนประชาชนควรใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมากหรือพื้นที่แออัดและควรหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันจำนวนมาก ๆ รวมทั้งช่วงเวลานี้มีประเด็นทางการเมือง มีกลุ่มคนที่จะรวมตัวกัน

แม้การรวมตัวจะอยู่ในพื้นที่เปิด แต่ต้องเดินทางมาในพื้นที่ชุมนุมหรือการจับกลุ่มถือว่ามีความเสี่ยง และการล้างมือก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมไปถึงกลุ่มคนที่เป็นบุคคลสาธารณะขอให้ช่วยย้ำเตือนประชาชนถึงความสำคัญในการควบคุมการระบาดของโควิดในระยะนี้ด้วย

เราต้องช่วยดูแลกลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนที่เรารักที่ไม่มีโอกาสป้องกันตัวได้ดีเหมือนเรา แต่ถ้าเราติดก็จะกระจายไปสู่คนเปราะบางที่จะมีอาการรุนแรง พวกเขามีโอกาสป้องกันตัวเองน้อย

ยอดโควิดพุ่ง

ผลกระทบเชิงลบ-เชิงบวก

ผลกระทบด้านลบ มหาศาล เศรษฐกิจซบนานหลายปี

1. ผลกระทบด้านสุขภาพ มีประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานหนักมากขึ้น
2. ผลกระทบทางด้านสังคม เกิดความตระหนก ตื่นกลัวและมีการนำมาสู่ความแตกแยก เกิดการกีดกัน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ของการระบาด
3. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เกิดขึ้นอย่างมหาศาล เพราะไทยพึ่งการส่งออกและการท่องเที่ยว โดย IMF ชี้ว่า GDP ของประเทศไทยจะปรับตัวลดลงถึง -6.7% ซึ่งถือว่าหนักมาก

ผลกระทบเชิงบวก มีหลากหลาย ต้องมีการต่อยอดสร้างประชาชนเข้มแข็ง

1.วิกฤติ COVID-19 ทำให้เราเห็นศักยภาพของระบบสาธารณสุขไทย ว่ามีความพร้อมกับการตั้งรับทำงานเชิงรุกและการควบคุมการระบาด ในเขตเมืองเรามีทรัพยากรทางการแพทย์ที่เข้มแข็ง ขณะที่พื้นที่ห่างไกลก็มีจุดแข็งเรื่องการรับมือเชิงรุกด้านการป้องกัน ส่วนชุมชนท้องถิ่นมีระบบต้นทุนพื้นฐานสาธารณสุขที่เข้มแข็ง คือ การมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 1 ล้านคน มีโรงพยาบาลสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) เกือบ 10,000 แห่ง และมีโรงพยาบาล 700 – 800 แห่ง ที่พร้อมเป็นฐานรองรับผู้ป่วย

“ผลกระทบด้านบวกตรงนี้ หากมีการถอดบทเรียนกันจริงๆ จะทำให้มีการลงทุนเพื่อขยายศักยภาพของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และระบบสุขภาพชุมชนครั้งใหญ่ ซึ่งจากเดิมทรัพยากรของเราถูกลงทุนไปในด้านโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และในหัวเมืองใหญ่ๆ เป็นหลัก แต่จากวิกฤติ COVID-19 ทำให้เห็นว่า ต้นทุนด้านสุขภาพในชุมชนมีอยู่ หากมีนโยบายการลงทุนขยายเพิ่มเติมจะเป็นผลดีต่อระบบสาธารณสุขไทยในอนาคตอย่างมาก”

2. วิกฤติ COVID-19 ทำให้เราได้เห็นประชาชนปรับตัวจาก “การตื่นกลัวกลายเป็นการตื่นรู้” เกิดการเรียนรู้ครั้งใหญ่ของประชาชน ที่จะรับมือกับการระบาดของไวรัส การดูแลตัวเอง การเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งตรงนี้ถ้ามีความต่อเนื่องก็จะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน การทำเครือข่ายอาสาสมัคร ยกระดับให้มีมาตรการในการดูแลกันเองในอนาคตข้างหน้า

3. วิกฤติ COVID-19 ทำให้เกิด ธรรมนูญของประชาชนในการสู้ภัย COVID-19 โดยประชาชนได้มีการออกมาตรการของตัวเองในการจัดการกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งการล้อตามมาตรการของรัฐ และการทำมาตรการของตัวเองในชุมชน เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เช่น ผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พร้อมกับการมีมาตรการดูแลทางสังคม การตั้งโรงทาน การดูแลกันเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งธรรมนูญเหล่านี้สามารถยกระดับเป็นธรรมนูญรับมือภัยพิบัติและป้องกันโรคระบาดอื่นๆ ได้ ถือเป็นพัฒนาการของชุมชนที่สำคัญยิ่ง

4. วิกฤติ COVID-19 ทำให้สังคมตระหนักมากขึ้นในเรื่อง การกระจายอำนาจ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีมาตรการต่างๆ ที่รัฐออกมาตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข นำไปปฏิบัติได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะสามารถระดมคนได้ ซึ่งการรวมศูนย์ที่รัฐบาลกลางอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีแบบนี้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจน

เปิด 4 บทเรียนสังคมไทยเรียนรู้จากวิกฤติ COVID-19

1. สังคมเรียนรู้ว่าความเสี่ยงมีอยู่ คนรวย คนจนมีโอกาสได้รับความเสี่ยงเท่ากัน ทั้งปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า มีความเสี่ยงที่หลากหลาย รุนแรงและไม่ปลอดภัยต่อชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้ทันที COVID-19 เกิดผลกระทบไปทั่ว ดังนั้นสังคมไทยต้องมีความพร้อมในการเตรียมรับมือ ทั้งการสร้างระบบที่ดีของประเทศและการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่กันไป

2. สังคมได้เรียนรู้ว่า ปัญหาเรื่องสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ไม่ใช่เป็นเรื่องแยกส่วนกัน ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งหมด เมื่อเกิดปัญหาโรคระบาดขึ้นมาจึงกระทบกันหมด ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเกิดความไม่มั่นคง เพราะฉะนั้นปัญหาทุกอย่างมันสัมพันธ์กันแยกส่วนกันไม่ได้ การลงทุนจะเน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่ได้ ต้องลงทุนด้านสุขภาพด้วย

3. สังคมเรียนรู้ว่าการแก้ปัญหารวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลางอย่างเดียวไม่พอ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งทางด้านสาธารณสุข ด้านเศรษฐกิจ ต้องมีการกระจายอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งจะสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที มีประสิทธิภาพ

4. สังคมได้เรียนรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราเห็นปัญหาช่องว่างทางรายได้มีความเหลื่อมล้ำ และมีช่องว่างทางความคิดอย่างชัดเจน โดยจะเห็นได้จากคนชั้นกลางในเมืองต้องการนโยบายที่คุมเข้ม ห้ามออกนอกบ้าน เพราะสามารถอยู่ได้และต้องการความปลอดภัย ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งเลือกที่จะต้องทำมาหากินไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะตายได้ ช่องว่างระหว่างคน 2 กลุ่มนี้ชัดเจนและควรต้องมีการประนีประนอม เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่นำไปสู่การเผชิญหน้า

“โดยส่วนตัวผมมองว่า แม้สถานการณ์โรคระบาดจะซาลง แต่ก็เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะไม่ยอม เพราะเขาอยากแก้ไขปัญหาและอยากมีส่วนร่วม ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่เหมือนเดิมอีกต่อไป เชื่อว่าแนวโน้มสังคมไทยหลังยุค COVID-19 น่าจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เพราะคนไทยได้เรียนรู้ระหว่างการเกิดวิกฤตินี้อย่างมาก” คุณหมอประทีป กล่าวทิ้งท้าย

ในวันที่ฟ้ามืดมิดจากวิกฤติ COVID-19 ผู้คนได้รับผลกระทบทุกหย่อมหญ้า มุมมองจากเลขาธิการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ทำให้เรามองเห็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หากบทเรียนที่ได้รับ ณ วันนี้ ได้รับการบันทึก ถอดบทเรียนอย่างเป็นระบบ ทำให้เห็นว่าการกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากร ไปถึงยังจุดที่ถูก อันจะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศที่ดีขึ้นในอนาคต

ยอดโควิดพุ่ง ยังเป็นวิกฤติที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นผลกระทบระยะยาว 2 – 3 ปี ซึ่งบางภาคส่วนในสังคมอาจจะได้รับผลกระทบยาวนานถึงสิบปีเลยทีเดียว แต่โชคดีที่ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหาร เป็นครัวของโลก ทำให้ไม่เกิดภาวะอดอยาก ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าหลายประเทศ

ที่มา

https://www.thaipbs.or.th/news/content/328170

https://www.nationalhealth.or.th/en/node/2242

https://www.fascino.co.th/

https://www.fascino.co.th/article/

 

ติดตามอ่านข่าวต่างๆ ได้ที่  mikebarbour.com

สนับสนุนโดย  ufabet369