บองบอง การที่จะขึ้นมาปกครองประเทศฟิลิปปินส์ในอนาคต จะทำให้ส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากบิดาของเขาในอดีตเป็นเผด็จการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก แต่เชื่อว่าบองบองคงไม่ทำเช่นนั้น

บองบอง ปกครองฟิลิปปินส์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ท่ามกลางข้อวิตกกังวลหลัง “บองบอง มาร์กอส” หรือ เฟอร์ดินานด์ โรมูอัลเดซ มาร์กอส จูเนียร์ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในครั้งนี้ว่า จะนำพาประชาชนและประเทศไปในทิศทางใด

โดยเฉพาะการเผชิญหน้าวิกฤติเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาปากท้องประชาชน ซึ่งถือเป็นเรื่องเร่งด่วน และเศรษฐกิจภายในประเทศราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นสูง ผลผลิตทางการเกษตรที่น้อยลง มีราคาตกต่ำ ซึ่งระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการปกครอง

ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้คนลุกขึ้นมาประท้วงเหมือนอดีตหรือไม่ และอนาคตของชาวฟิลิปปินส์ในเงื้อมมือของ “บองบอง” ลูกชายมาร์กอสจะเป็นเช่นไร

เลิกเผด็จการใช้นโยบายเป็นมิตร

กวี จงกิจถาวร ผู้สื่อข่าวอาวุโส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ วิเคราะห์ว่า แม้หลายคนจะกังวลว่า การที่บองบองขึ้นมาปกครองประเทศ จะทำให้ส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย ความมีประชาธิปไตยในประเทศจะลดลง เนื่องจากเฟอร์ดินาน มาร์กอส บิดาของเขา ในอดีตเป็นเผด็จการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก แต่เชื่อว่าบองบองคงไม่ทำเช่นนั้น

ดังจะเห็นจากนโยบายต่างๆ ของพรรคสมาพันธ์แห่งฟิลิปปินส์ ที่ไม่ได้ดำเนินตามรอยของรัฐบาล โรดรีโก ดูเตอร์เต หรือแม้แต่นโยบายด้านสื่อ ถึงแม้ว่าเสรีภาพสื่อของฟิลิปปินส์ในเอเชียอาคเนย์ก็ยังมีมากอยู่ แต่เรื่องการให้ข่าวไม่ค่อยเกิดขึ้น นักข่าวฟิลิปปินส์มองว่า บองบองไม่ค่อยให้ข่าวกับนักข่าวที่ตนไม่รู้จัก หรือไม่ได้เป็นพวกของตน

ในยุคของ ปธน.ดูเตอร์เต มีปัญหาความแตกแยกของสังคมมาก โดยเฉพาะจากนโยบายปราบยาเสพติด ที่ค่อนข้างจะมีความรุนแรง แต่บองบองไม่ได้ให้ความรู้สึกในลักษณะนั้นต่อประชาชน เขามีความเป็นมิตรมากกว่าส่วนปัญหาด้านอื่นๆ นักข่าวอาวุโสมองว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ฟิลลิปปินส์ต้องรื้อฟื้นศักยภาพในอดีต ในการเป็นประเทศที่สามารถชักนำการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนจากประเทศที่นอกเหนือจากจีน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความชัดเจน

ในช่วงแรกๆ มีการคาดคะเนว่า ยุคที่บองบองเป็นประธานาธิบดีบทบาทและนโยบายที่ฟิลิปปินส์มีต่อจีน จะมีความต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งปรากฏว่าในช่วงต้น นโยบายค่อนข้างสนับสนุนการลงทุนจากจีน แต่ระยะหลังช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่า ทางรัฐบาลฟิลิปปินส์มีนโยบายเพิ่มสัมพันธภาพกับประเทศในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านความมั่นคง และการลงทุน

ปัจจุบัน ฟิลลิปปินส์ก็มีความพยายามที่จะชักจูงให้นักธุรกิจจากเกาหลี หรือประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่จีน เข้ามาลงทุน และขยายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ

ชวนแรงงานคืนถิ่นแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

นักวิเคราะห์ข่าวอาวุโส ยังกล่าวอีกว่า ประเด็นปัญหาสำคัญของฟิลิปปินส์ตลอดเวลาที่ผ่านมา ยังคงเป็นเรื่องของปากท้อง และการชักจูงคนฟิลิปปินส์ที่ทำงานอยู่นอกประเทศทั่วโลกกว่า 11 ล้านคน ให้กลับมาในประเทศ

โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านด้านไอทีในประเทศ ซึ่งฟิลิปปินส์ต้องการมาก หากคนเหล่านี้กลับเข้ามาทำงานในประเทศจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้ อย่างที่บองบองเล็งเห็นและตั้งใจไว้อย่างไรก็ตาม นอกจากบองบอง ลูกชายอดีต ปธน.มาร์กอส ได้เป็น ปธน. คนใหม่แล้ว ซารา ดูเตอร์เต-คาร์ปิโอ ลูกสาวของ โรดริโก ดูเตร์เต อดีต ปธน. คนที่แล้วของฟิลิปปินส์ ยังได้เป็นรอง ปธน. ที่ชาวฟิลิปปินส์เลือกเข้ามาอีกด้วย

กวี กล่าวว่า ซาราได้เป็นรอง ปธน. ส่วนหนึ่งมาจากบุญบารมีของพ่อ เมื่อทั้งบองบองและซาราทำงานร่วมกัน ก็เป็นเหมือนการเอากระเเสประวัติศาสตร์ และกระแสโซเชียลมีเดียที่ต่อเนื่องยาวนานมาเชื่อมต่อ หรือ นำสิ่งที่ถูกส่งเสริมด้วยความรวดเร็วฉับพลันของโซเชียลมารวมกัน กระเเสสนับสนุน บองบองและซารามาแรงมาก เมื่ออยู่ด้วยกัน จะทำให้เกิดการสมประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก

กวี กล่าวว่าคนที่เลือกบองบอง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่รู้จักครอบครัว มาร์กอส รู้ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี ส่วนคนรุ่นใหม่เลือกเขา เพราะเห็นว่าอาจเป็นตัวเลือกใหม่ ที่ต่างจากดูเตอร์เต พวกเขาต้องการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันคนที่นิยมดูเตอร์เตก็มีไม่น้อย จึงเลือกซารา ลูกสาวให้เป็นรอง ปธน.

บองบอง

สื่อโซเชียลเสี่ยงติดกับดักการเมือง

นักวิเคราะห์ข่าวอาวุโส ตั้งข้อสังเกตว่า ในฟิลลิปปินส์โซเชียลมีเดียเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการใช้เปลี่ยนกระเเสความคิด กระตุ้นให้เกิดความรู้สึก โดยเฉพาะการใช้นำเสนอภาพลักษณ์ของพรรคและตัวบุคคลที่เสมือนจริง รวมทั้งภาพลักษณ์ที่พวกเขาเป็นอยู่จริงในสังคมก็ตาม

สิ่งที่โซเชียลทำได้ แต่สิ่งอื่นทำไม่ได้คือ การตอกย้ำอารมณ์ชอบ-ไม่ชอบ ให้กับคนที่ใช้มันได้ทุกเวลา ซึ่งขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้คนในช่วงนั้น ว่ากระแสอะไรที่มาแรง และจะใช้โซเชียลไปตอกย้ำความรู้สึกแบบไหนของกลุ่มที่ยังอยู่กวี บอกว่า หากใช้สื่อโซเชียลตอกย้ำทุกวัน ความรู้สึกเหล่านั้นก็จะมีความคงทน (Durability) เช่น ตนเเป็นนักเขียนข่าวธรรมดา ตัวข่าวก็จะมีความคงทนอยู่ 24 ชั่วโมง แต่ในโซเชียลมีเดียตัวข่าวอาจมีความคงทนเดี๋ยวเดียว แต่เป็นเดี๋ยวเดียวที่หลายครั้ง

การตอกย้ำหลายๆ ครั้ง ต่อๆ กันเป็นรูปแบบ หรือระเบียบของการใช้ข้อมูลในการตอกย้ำไปยังผู้รับสื่อ ทำให้พวกเขาเกิดอารมณ์ ต่อสิ่งที่ชอบ หรือไม่ชอบและการใช้สื่อโซเชียลตอกย้ำไม่ต่างจากการใช้พวกอินฟลูเอนเซอร์หรือกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดของกลุ่ม เป้าหมายในการเสนอขายสินค้า บทบาทของอินฟลูเอนเซอร์บนโลกโซเชียลสำคัญมาก นักการเมืองและพรรคการเมืองจึงพยายามนำเสนอโยบายต่างๆ ผ่านบนแพลตฟอร์มของเขา เพราะรู้ว่ามีกลุ่มคนบนโซเชียลที่สนใจและต้องการรับรู้เนื้อหาอยู่จำนวนมาก

กวี มองว่า การใช้โซเชียลมีเดียมากไป อาจทำให้มีโอกาสติดกับดักทางการเมืองได้ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ เพราะผู้ใช้บนโซเชียลมีเดีย บางคนก็เลือกดูแค่ข่าวที่ตัวเองชอบ หรือรู้สึกเชื่อมโยงกับตน ที่เรียกว่า (Echo chambers social media) ซึ่งน้อยคนที่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อดูข่าวทุกมิติ และฟังข่าวในทุกๆ ด้าน ฉะนั้นคนที่ใช้โซเชียลอย่างระมัดระวัง ก็จะไม่หลงกลข้อความที่คอยตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า

กวี ยังวิเคราะห์อีกว่า นักการเมืองที่ใช้โซเชียลมีเดียเก่งๆ มีโอกาสที่จะพลาด แต่ปกตินักการเมืองจะมีเกราะกำบัง อีกชั้นหนึ่งก่อนส่งข้อความ คือ แอดมินคอยดูแล แต่ปกติผู้นำหรือนักการเมืองที่มีชื่อเสียง ส่วนมากจะใช้โซเชียลมีเดียในบางกรณีที่มีข่าวสำคัญเท่านั้น

พวกเขาอาจใช้บุคคลหรือระบบตอบกลับข้อความอัตโนมัติเข้าใช้ และไม่ตอบข้อความด้วยตัวเอง เช่น ลี เซียนลุง (หลี เสี่ยนหลุง) นายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ จะโพสต์ข่าวสำคัญๆ ที่ตัวเองได้ทำเท่านั้น ไม่ได้โพสต์ข่าวด้วยตัวเองทันทีทันใด หรือวันต่อวัน

ต่างจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีการใช้โซเชียลมีเดียในช่วงหาเสียง หรือตอนที่ยังดำรงตำแหน่ง ปธน.สหรัฐฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยของผู้นำแต่ละคนด้วย ขณะที่ไทยมักใช้ตัวแทนหรือแอดมินทำหน้าที่แทนมากกว่า

ตระกูลมาร์กอส ทวงบัลลังก์

ในปี 2529 มาร์กอสผู้พ่อ ต้องหนีออกจากฟิลิปปินส์ ลี้ภัยสู่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา เพราะถูกคนฟิลิปปินส์ลงถนนประท้วงขับไล่ หลังประเทศถูกปกครองแบบเผด็จการตลอด 21 ปี มีการคอร์รัปชันเงินราว 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ถูกขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุด รองจากอดีต ปธน.ซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย

การที่บองบองกลับมาทวงบัลลังก์ของตระกูลมาร์กอส ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่กังวลว่า เรื่องราวในอดีตของ “มาร์กอสผู้พ่อ” จะส่งต่อมาถึง “มาร์กอสจูเนียร์” หรือไม่นั้น

แต่สำหรับคนฟิลิปปินส์ที่เบื่อหน่ายกับรัฐบาลชุดก่อน รวมถึงการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ทางการเมืองผ่านระบบการศึกษาที่ไม่ได้ถูกส่งต่อมาทั้งหมด คงต้องให้เวลาอีก 5 ปีที่เหลือเป็นตัวชี้วัดว่าครั้งนี้ บองบอง จะสามารถลบล้างอดีตที่ฝังแน่นในประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์ได้ อย่างที่บองบองประกาศชัดในวันที่เอาชนะการเลือกตั้งไว้ได้หรือไม่

เกี่ยวกับการเมืองฟิลิปปินส์

1. การเลือกตั้งประธานาธิบดี

ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกๆ 6 ปี และจะดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 วาระเท่านั้น ประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและประมุขของรัฐบาล การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในปี 2565 และผู้ที่ชนะการเลือกตั้งคือ ปธน.เฟอร์ดินานด์ บองบอง โรมูอัลเดซ มาร์กอส จูเนียร์ หรือ “บองบอง มาร์กอส”

2. การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ

ฟิลิปปินส์มีสภานิติบัญญัติ หรือ “สภาคองเกรส” เป็นสภาคู่ ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ดํารงตําแหน่งเป็นเวลา 6 ปี มีจำนวนสภาละ 12 คน สภาคองเกรสแต่งตั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร เป็นกลไกตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส บุคคลหรือเจ้าหน้าที่ที่ ปธน.เป็นผู้แต่งตั้ง เช่น เจ้าหน้าที่ในกองทัพหรือกระทรวงต่างๆ การแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำประเทศต่างๆ เป็นต้น

3. การลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

พลเมืองฟิลิปปินส์ที่มีอายุเกิน 18 ปีและมีที่อยู่อาศัยในฟิลิปปินส์ จะเป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้

4. บัตรเลือกตั้งขนาดใหญ่

ฟิลิปปินส์มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันจันทร์ที่สองของเดือน พ.ค. ทุก 6 ปี ประชาชนจะเลือกตั้งได้ทั้งประธานาธิบดี, รองประธานาธิบดี, สมาชิกวุฒิสภา, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมไปจนถึงการเลือกตั้งท้องถิ่น

 

การจัดระบบการเลือกตั้งทำให้เกิดความหลากหลายในการจัดตั้งรัฐบาลเป็นอย่างมาก ปธน. และรอง ปธน. อาจจะไม่ได้มาจากพรรคเดียวกันอย่างที่เคยเกิดในรัฐบาลของ ปธน.โรดริโก ดูเตอร์เต และรอง ปธน.เลนี โรเบรโด ผู้นำรัฐบาลก่อนรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยนโยบายทางการเมืองที่ต่างกัน ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาฟิลิปปินส์ ชาวฟิลิปปินส์หลายคนมองว่า ความไม่ลงรอยกันจากผู้นำที่มาจากคนละพรรค ทำให้ฟิลิปปินส์เดินไปข้างหน้าช้ามาก และการที่บองบองจะเป็นผู้นำประเทศจึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองกับสถานการณ์การเมืองภายในฟิลิปปินส์

 

เรื่องรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่  mikebarbour.com

สนับสนุนโดย  ufabet369